ความรู้เกี่ยวกับ "ประเภทของเสาเข็ม"

เสาเข็ม เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่สำคัญในงานก่อสร้าง ซึ่งเรามักได้ยินชื่อกันอยู่เสมอ และส่วนมากก็ทราบกันดีว่ามันมีความสำคัญในด้านการเสริมความแข็งแรงให้กับอาคาร แต่อย่างไรก็ดี ในการจะใช้งาน เสาเข็ม เราควรทำความเข้าใจรายละเอียดเสียก่อน เพื่อจะได้สามารถ เลือกมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเรื่องที่ควรทราบอย่างหนึ่งก็คือ "ประเภทของเสาเข็ม" ซึ่งมีหลายครั้งที่พบว่ามีความสับสนอยู่บ้างในความเข้าใจของคนทั่วไป บริษัท สินธุ แอนด์ คิว.พี.เอส. จำกัด เราคือผู้เชี่ยวชาญในงานการ ผลิตเสาเข็ม มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้

ประเภทของเสาเข็ม

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันในคำว่า "ประเภทของเสาเข็ม" ก่อน เพราะนี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พบว่ามีการเกิดความเข้าใจที่สับสนกันบ่อยๆ ระหว่างการแบ่ง "ประเภท" กับ "ชนิด" ซึ่งบางครั้งทำให้การสื่อสารกันผิดพลาดคลาดไปไกล โดยเฉพาะท่านที่เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้าง ที่ไม่ชำนาญด้านงานช่างมากนัก อาจจะสื่อสารทำความเข้าใจกับช่าง หรือ ผู้รับเหมา ผิดไปจากความตั้งใจทำให้เสียเวลา หรือ อาจจะเกิดความผิดพลาดในการทำงานได้เลยทีเดียว (ท่านที่อยากทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเสาเข็มเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากเรื่อง "เสาเข็มคืออะไร")

ประเภทของเสาเข็ม ในเชิงงานช่าง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำอธิบายว่า ประเภทของเสาเข็ม ที่นิยมใช้งานกันทั่วไป มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1. เสาเข็มตอก

เสาเข็มประเภทนี้ มีทั้งเสาคอนกรีต เสาเหล็ก และเสาไม้ ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากแข็งแรงกว่าเสาไม้และราคาถูกกว่าเสาเหล็ก สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce concrete pile) และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง (Prestressed concrete pile) เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็น ประเภทของเสาเข็ม ที่นิยมมากที่สุด เพราะผลิตได้ยาวและประหยัด มีพื้นที่หน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบตัว I แบบสี่เหลี่ยม แบบตัว T และแบบกลม เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-80 ตันต่อต้น

เสาเข็มตอกเสาเข็มตอก

2. เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้งาน จะต้องทำในพื้นที่ใช้งานจริงและมีกรรมวิธีในการทำค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน โดยใช้เครื่องมือเจาะ ขุดดินลงไปให้ได้ความลึกของเสาเข็มและขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มตามที่กำหนด จากนั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม เสาเข็มเจาะยังสามารถแบ่ง ประเภทของเสาเข็ม ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่ เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (เสาเข็มเจาะแบบแห้ง) และ เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (เสาเข็มเจาะแบบเปียก)

เสาเข็มเจาะเสาเข็มเจาะ

3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เสาเข็มสปัน" (Spun Pile) เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ ปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด

เสาเข็มสปัน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 100 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 14 เซนติเมตร โดยมีความยาวแต่ละท่อนอยู่ในช่วง 6 - 18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงสามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้ เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับสะพานหรือใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว